หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล » ขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย
 
เข้าชม : ๖๕๔๕ ครั้ง

''ขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย''
 
พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล (2556)

 

ขบวนการพุทธใหม่ในประเทศไทย

Neo-Buddhist Movements in Thailand

 

พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล (เกษนคร)

ค.บ.(การสอนสังคมศึกษา),

ค.ม.(การสอนสังคมศึกษา)

 

บทคัดย่อ

 

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วยเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวปฏิบัติ วิธีการเผยแผ่  และอิทธิพลต่อสังคมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาที่ วัดสามัคคี ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ วิหารธรรมบ้านหนองโดน ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และสำนักปฏิบัติธรรมภูริทัตตะ บ.หนองไศล ต. ดูกอึ่ง              อ.หนองฮี  จ.วัดร้อยเอ็ด ผู้วิจัยเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๕  รูป/คน โดยคัดจากผู้เป็นเจ้าสำนักและที่เป็นสมาชิกในขบวนการ

               ผลวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นสานุศิษย์ขบวนการพุทธแนวใหม่มีความเชื่อและเลื่อมใสโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การหายจากโรคภัยไข้เจ็บ การหลุดพ้นจากความจากความยากจนและมีชีวิตครอบครัวที่เป็นสุข สานุศิษย์มีความหลากหลาย นอกจากนี้มีหลักการเผยแพร่แนวคิดและความคิดเป็นเครือข่ายทั้งชุมชนเมืองและชนบทอย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่า แต่ละขบวนการมีหลักการ – แนวคิด พิธีกรรม  ตลอดจนการปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะตัว และแปลกแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะวิหารธรรมบ้านหนองโดน                    คือประกอบด้วยคติพุทธ คติพราหมณ์  คติการนับถือวิญญาณ  วิธีการดำเนินชีวิตประจำวันผิด         ไปจากขบวนการอื่น ๆ เช่น เลื่อมใสในองค์พระศรีอาริยเมตไตยที่ลงมาบำเพ็ญบารมีเป็นอาจารย์ทองพูน  เสาวโรนุพันธ์ ที่บรรดาลูกศิษย์เรียกว่า  พ่อต้น  หรือองค์ต้น นั่นเอง 

               จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อนั้น ชุมชนมีการรับความเชื่อใหม่เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมจนกระทั่งได้รูปแบบของความเชื่อใหม่ ซึ่งในทั้งสามกรณีในรายการวิจัยครั้งนี้ ชุมชนได้นำแนวปฏิบัติของแต่ละแห่งผสมผสานอย่างกลมกลืนกับวิถีการดำเนินชีวิตของตน  ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมานานและมีตลอดเรื่อยมาในสังคมไทย

 
ดาวน์โหลด

(ที่มา: บทความทางวิชาการ)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕